ประวัติความเป็นมา

กองบิน 46

​ในปีพุทธศักราช 2508 ถึง 2525 ประเทศไทยได้ตกอยู่ในสถานการณ์ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีกองกำลังของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก และได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กองทัพอากาศได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดตั้งกองบัญซาการกองทัพอากาศส่วนหน้าขึ้นเพื่อควบคุมทางยุทธการและเตรียมกำลังทางอากาศสำหรับปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
​ตามแผนยุทธการ ทอ.ที่ 1/08 โดยให้กองบินต่าง ๆ จัดกำลังทางอากาศเพื่อปฏิบัติการ่วมกับกำลังทางภาคพื้นและจัดตั้งฐานบินขึ้นเพื่อเป็นฐานปฏิบัติการในการวางแผนกำลัง ฐานบินพิษณุโลกจึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2508 เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการใช้กำลังทางอากาศสนับสนุนการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีเครื่องบินมาวางกำลังคือ 

​บ.จ.5 (OV-10)
ภารกิจ ลาดตระเวนและโจมตีทางอากาศ

หน่วยบิน 413, 213, 4111 ภารกิจ ลาดตระเวนและโจมตีทางอากาศ

​บ.จธ. (AU-23A Peacemaker)
ภารกิจ ลาดตระเวนและโจมตีทางอากาศ

หน่วยบิน 2021, 2233

​บ.จล.2 (AC-47 Spooky)
ภารกิจ โจมตีทางอากาศ

หน่วยบิน 6231

​บ.ต.2 (C47 Dakota)
ภารกิจ ชี้เป้าทางอากาศ

หน่วยบิน 7112, 7131

​ฮ.6 (UH-1H Huey)
ภารกิจ กู้ภัยและค้นหาทางอากาศ

หน่วยบิน 3331


ฐานบินพิษณุโลกเป็นฐานบินที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่งจึงไต้มีการพัฒนา และยกระดับฐานบินอย่างต่อเนื่องดังนี้

2 พฤศจิกายน
พ.ศ.2508

กำเนิดฐานบินพิษณุโลก

พฤษภาคม
พ.ศ.2515

ยกฐานะเป็นแผนการฐานบินพิษณุโลก

21 กันยายน
พ.ศ.2520

จัดตั้งเป็น ฝูงบิน 406
(วันสถาปนา ฝูงบิน 461)

ฝูงบิน 406 ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม

15 กรกฎาคม
พ.ศ.2523

ประกาศใช้อัตรา กองบิน 46 (เพื่อพลาง)

20 ธันวาคม
พ.ศ.2525

ยกฐานะ กองบิน 46 (เพื่อพลาง) 
เป็น กองบิน 46 อัตราปกติ
(วันสถาปนากองบิน 46)

30 สิงหาคม
พ.ศ.2527

ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกองบิน 46

พ.ศ.2539

ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 (Douglas C-47)
เป็น Basler Turbo-67 หรือ (BT-67)

ใช้ในการปฏิบัติภารกิจการลำเลียงทางอากาศ 
ภารกิจดับไฟป่า และภารกิจฝนหลวง

ฝูงบิน 406 ได้ยกระดับเป็นกองบิน 46 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2525 จึงได้ถือเอาวันนี้เป็น วันสถาปนากองบิน 46 
ในครั้งแรกที่จัดตั้งกองบิน 46 นั้น ได้บรรจุอากาศยานจากฝูงบิน 402 กองบิน 4 ตาคลี มาไว้ในฝูงปิน 461 กองบิน 46 โดยมีอากาศยาน 2 แบบ คือ บ.จล.2 และ บ.จล.9 ซึ่งเป็นเครื่องบินลาดตระเวนและโจมตีทางอากาศ หลังจากที่การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมินิสต์ประสบผลสำเร็จ กองทัพอากาศได้ทำการตัดแปลง บ.จล.2 เป็น บ.ล.2 และย้ายมาบรรจุไว้ที่ ฝูงบิน 603 กองบิน 6 ดอนเมือง ส่วน บ.จล.9 ใช้ในภาระกิจต่าง ๆ ดังนี้ 
1. ติดลำโพงขนาด 2100 วัตต์ เพื่อปฏิบัติการจิตวิทยา
​2. ติดอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย เพื่อใช้เป็นเครื่องลำเลียงทางอากาศ
​3. ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้เป็นเครื่องบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ (บ.ตล.9)
​4. ดัดแปลงใช้เป็นเครื่องบินลำเลียง รับ-ส่ง บุคคลสำคัญ
​5. ดัดแปลงใช้เป็นเครื่องบินปฏิบัติการฝนหลวง
ในช่วงปี พ.ศ.2530 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับ สปป.ลาว โดยลาวได้อ้างสิทธิเหนือตินแดนบ้านร่มเกล้า อ. ชาติตระการ 
กองบิน 46 ได้ถูกใช้เป็นฐานวางกำลังทางอากาศร่วมปฏิบัติการกับกองกำลังภาคฟื้น โดยมีเครื่องมาวางกำลังคือ บ.ข.18 (F-5), บ.จ.5 (OV- 10), บ.ตล.7, บ.จ.6, ฮ.4ก, ฮ.6 และฝูงบิน 61 ได้จัด บ.จล.9 เข้าร่วมปฏิบัติการภารกิจ บินคุ้มกัน บินค้นหาและช่วยชีวิต รวมทั้งภารกิจลำเลียงทางอากาศ​

ในปี พ.ศ.2539 กองทัพอากาศ ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท Basler Turbo Conversions, LLC ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 (Douglas C-47) จำนวน 2 ลำ ให้เป็น Basler Turbo-67 หรือ (BT-67) เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจลำเลียง ภารกิจดับไฟป่า และภารกิจฝนหลวง ในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยการดัดแปลงนั้น มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ลูกสูบดาว Pratt & Whitney R-1830-90C/1200 แรงม้า เป็นเครื่องยนต์เทอร์โบพรอป Pratt & Whitney PT6-67R/1425 แรงม้า ระบบAvionics และระบบต่างๆ ของเครื่องบินใหม่ ให้มีความทันสมัย และทนทานมากขึ้น มีการยืดลำตัวส่วนหน้าออกไปอีก 1 เมตร โดยเครื่องบินที่ได้รับตรวจมารตฐาน และได้รับใบสมควรเดินอากาศจากองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) และกองทัพสหรัฐฯ เพื่อนำมาใช้ในภารกิจบรรเทาสาธารณภัย และการป้องกันประเทศ ​​

เครื่องหมายราชการของ กองบิน 46

ลักษณะของเครื่องหมาย (สัญลักษณ์)

เป็นรูปอาร์ม ภายในมีตัวเลข "๔๖" อยู่ระหว่างกลางปีกนกเล็กกับปีกนกใหญ่ 
ภายใต้ทับและไขว้กัน ใต้อาร์มมีแถบโค้งช้อน 2 แถบ 
กลางแถบมีคำว่า "กองบิน ๔๖ พิษณุโลก" 
ปลายแถบมีดาว 5 แฉก ข้างละสองดาว

ความหมายของภาพและสี

สีฟ้า ของด้านล่างรองรับอาร์ม คือ สีของกองทัพอากาศ 

ภายในของสีฟ้า หมายถึง กองบินเลขสองตัว มีชื่อกองบินและสถานที่ตั้งประกอบ

สีแดง ​ ​ ​หมายถึง ชาติ

สีขาว ​ ​ ​หมายถึง ศาสนา

สีน้ำเงิน ​หมายถึง องค์พระมหากษัตริย์

หมวกสีดำลายเหลือง หมายถึง พระมาลาเบี่ยงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงออกศึกกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา

ดาบ หมายถึง พระแสงดาบคาบค่าย ซึ่งเป็นอาวุธคู่พระหัตถ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงใช้ทำการรบและคาบปีนค่ายพม่า

ปืน หมายถึง พระแสงปืนต้นที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยิงข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุรกัณมา ตกจากหลังม้าถึงแก่ความตาย


เพลง มาร์ชกองบิน 46

ปีกทอง เครื่องหมายเสืออากาศ
เด่นผงาดฟ้า น่าเกรมขาม
สละชีพเพื่อชาติ ให้สมนาม
แดนสยามเมืองทองของไทย
กองบิน สี่สิบหก เรานี้
ทำหน้าที่ ใช้กำลัง ปรามผองภัย
สนับสนุน ภาคพื้น มุ่งทำลาย
เหล่าร้าย พิพาศจากแดนทอง
เกียรติเรารัก ศักดิ์สีเทา เราถนอม
จะไม่ยอม ให้ศัตรู แบ่งแยกสอง
รับใช้ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ขวานทอง
จนร่างล้ม จมกองขวานทองไทย
อันมาลา ดาบคาบค่าย ปืนพระแสง
เคยยิงแทง ริปูด้วย หัตถ์จอมไท้
ศัตรูพ่าย จึงอยู่มา อย่างเป็นไทย
รวมอยู่ใน ตรากองบิน ถิ่นสองแคว